วันพฤหัสบดีที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2552

ลูกแรดเตรียมพร้อมล่าเหยื่อ

สิ่งที่ได้รับจากการเรียนวิชาเตรียมฝึกประสบการณ์วิชาชีพ 3

ได้รับความรู้และทักษะในกิจกรรมต่างๆในแต่ละครั้ง ช่วยให้เราได้นำความรู้นั้นไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้ อย่าเช่น ด้านภาษาไทย ภาษาอังกฤษ สังคม และเทคโนโลยีสารสนเทศ และได้เตรียมความพร้อมในหลายๆด้าน ไม่ว่าจะเป็น

1. การฝึกให้เป็นคนที่มีระเบียบวินัย ปฏิบัติตามกฏระเบียบและกติกามารยาทที่กำหนดไว้ ทำให้เราได้เป็นคนที่มีบุคลิกภาพที่ดี สุภาพอ่อนน้อม เพื่อที่จะได้อยู่ร่วมในสังคมกับผู้อื่นได้อย่างสงบสุข

2. การทำงานร่วมกับผู้อื่น รู้จักการแบ่งหน้าที่ มีความรับผิดชอบ และการแสดงความคิดเห็น ในการทำงานร่วมกันบางครั้งอาจมีปัญหาบ้างแต่ก็ต้องหาทางแก้ปัญหาร่วมกัน เพื่อให้งานเสร็จออกมาสมบูรณ์ ครบถ้วนและเรียบร้อย

3. การตรงต่อเวลา ทำให้เราได้รู้จักการจัดสรรเวลาได้ถูกต้อง ว่าสิ่งไหนควรทำก่อนหรือหลัง เพื่อให้เสร็จทันตามเวลาที่กำหนด จะได้ไม่ให้เกิดปัญหากับตนเองและผู้อื่น

4.ได้ฝึกมีความรับผิดชอบในงานที่ได้รับมอบหมาย ต้องเสร็จให้ทันเวลาที่กำหนด

5.มีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดี เพราะต้องติดต่อสื่อสารกับผู้อื่นมากมายในการทำงาน และต้องอยู่กับผู้ได้ในสังคมได้

6.การวางตัวที่เหมาะสม ได้รู้ว่าเราควรที่ต้องวางตัวเช่นไร แต่งกายแบบไหนถึงจะดูเหมาะสมและดูดี กับเวลาสถานที่ ที่เราไปทำงานหรือติดต่อ

7.ได้ฝึกความพร้อมของตัวเองก่อนที่จะออกไปฝึกงานจริง ให้เรามีความพร้อม มีความกระตือรือร้นอยู่เสมอ และสามารถปรับตัวได้เมื่อต้องไปเผชิญกับการฝึกงานจริง

วันพฤหัสบดีที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2552

DTS 11-16-09-2552

การค้นหาข้อมูล (Searching)

การค้นหาข้อมูล (Searching)

การค้นหา
คือ การใช้วิธีการค้นหากับโครงสร้างข้อมูล เพื่ือดูว่าข้อมูลตัวที่ต้องการถูกเก็บอยู่ในโครงสร้างแล้วหรือยัง

การค้นหาข้อมูล searching แบ่งเป็น 2 ประเภท
1.การค้นหาข้อมูลแบบภายใน
2.การค้นหาข้อมูลแบบภายนอก

การค้นหาแบบเชิงเส้นหรือการค้นหาตามลำดับ (Linear)

วิธีการที่ใช้กับข้อมูลที่ยังไม่ได้เรียงลำดับ มีวิธีโดยการนำข้อมูลที่ต้องการหามาเปรียบเทียบกับข้อมูลตัวเเรกในแถวลำดับ ถ้าค่าข้อมูลที่ต้องการหาไม่ตรงกับค่าข้อมูลในแถวลำดับก็ทำการค้นหาไป เรื่อยๆ จนเจอค่าข้อมูลที่ต้องการจึงจะหยุดการค้นหา หรือจะหยุดการค้นหาก็ต่อเมื่อไม่พบค่าข้อมูล

การค้นหาแบบเซนทินัล (Sentinel)

มี ลักษณะเช่นเดียวกับการค้นหาแบบเชิงเส้น แต่ประสิทธิภาพดีกว่าตรงที่เปรียบเทียบค่าน้อยครั้งกว่าการค้นหาแบบเชิงเส้น มีวิธีโดยการเพิ่มพื้นที่ที่เก็บข้อมูลอีก 1 ที่ แล้วนำข้อมูลที่ต้องการค้นหาไปใส่ไว้ที่ต้น หรือท้ายอาเรย์ แล้วทำการตรวจสอบ ถ้าตำแหน่งที่พบเท่ากับ n-1 แสดงว่าหาข้อมูลไม่พบ นอกนั้นถือว่าพบข้อมูลที่ต้องการค้นหา

การค้นหาแบบไบนารี (Binary Search)

จะ ใช้กับข้อมูลที่เรียงลำดับแล้วเท่านั้น โดยแบ่งข้อมูลออกเป็นสองส่วน การค้นหาเป็นวิธีค้นหาที่ไปยังค่ากลางเพื่อตรวจสอบหรือเปรียบเทียบว่าใช่ ข้อมูลที่ต้องค้นหาหรือไม่ และจะละทิ้งข้อมูลส่วนหน้าหรือส่วนหลังขึ้นอยู่กับว่าข้อมูลที่ต้องการค้นหา มีค่ามากกว่า หรือน้อยกว่าข้อมูลค่ากลาง


----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

วันอาทิตย์ที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2552

DTS 10-09-09-2552

กราฟ(ต่อ)

การท่องไปในกราฟ
1.การค้นหาแบบกว้าง จะมีการกำหนดจุดเริ่มต้น แล้วท่องไปยังโหนดประชิดของจุดเริ่มต้นไปเรื่อยๆจนครบทุกโหนด
- การค้นหาแบบกว้าง ในกราฟไม่มีทิศทาง โหนดที่พบมีได้หลายรายการแล้วแต่ลำดับของโหนดประชิดที่ได้จัดเรียงไว้
- การค้นหาแบบกว้าง ในกราฟมีทิศทาง การค้นหาโหนดทำได้ง่ายขึ้น โดยใช้คิวเก็บลำดับของโหนดประชิด และใช้ตารางเก็บค่าโหนดประชิด
2.การค้นหาแบบลึก ต้องมีการกำหนดจุดเริ่มต้นสำหรับเยี่ยมเป็นจุดแรก มีหลักการคล้ายกับแบบลำดับของทรี

กราฟ มีน้ำหนัก หมายถึง กราฟที่ทุกเอดจ์ มีค่าน้ำหนักกำกับ ซึ่งค่าน้ำหนักอาจสื่อถึงระยะทาง เวลา ค่าใช้จ่าย เป็นต้น นิยมนำไปใช้

แก้ปัญหาหลัก ๆ 2 ปัญหา คือ

1. การสร้างต้นไม้ทอดข้ามน้อยที่สุด
(Minimum Spanning Trees :MST)
1. เรียงลำดับเอดจ์ ตามน้ำหนัก
2. สร้างป่าที่ประกอบด้วยต้นไม้ว่างที่มีแต่โหนด และไม่มีเส้นเชื่อม
3. เลือกเอดจ์ที่มีน้ำหนักน้อยที่สุดและยังไม่เคยถูกเลือกเลย ถ้ามีน้ำหนักซ้ำกันหลายค่าให้สุ่มมา 1เส้น
4. พิจารณาเอดจ์ที่จะเลือก ถ้านำมาประกอบในต้นไม้ทอดข้ามน้อยที่สุดแล้วเกิด วงรอบ ให้ตัดทิ้งนอกนั้นให้นำมาประกอบเป็นเอดจ์ในต้นไม้ทอดข้ามน้อยที่สุด
5. ตรวจสอบเอดจ์ที่ต้องอ่านในกราฟ ถ้ายังอ่านไม่
หมดให้ไปทำข้อ 3

2. การหาเส้นทางที่สั้นที่สุด (Shortest path) Dijkstra’s Algorithm
หาเส้นทางที่สั้นที่สุดจากโหนดต้นทางไปโหนดใด ๆ ในกราฟ มีน้ำหนัก และน้ำหนักไม่เป็นลบ
ข้อกำหนด
ให้ เซต S เก็บโหนดที่ผ่านได้และมีระยะทางห่างจากจุดเริ่มต้นสั้นที่สุด
ให้ W แทนโหนด นอกเซต S
ให้ D แทนระยะทาง (distance) ที่สั้นที่สุดจากโหนดต้นทางไปโหนดใด ๆ ในกราฟ โดยวิถีนี้ประกอบด้วย โหนดในเชต
ให้ S ถ้าไม่มีวิถี ให้แทนด้วยค่าอินฟินีตี้ (Infinity) : ∞


Sorting

การเรียงลำดับ (sorting) เป็นการจัดให้เป็นระเบียบมีแบบแผน ช่วยให้การค้นหาสิ่งของหรือข้อมูล ซึ่งจะสามารถกระทำได้รวดเร็วและมีประสิทธิภาพ เช่น การค้นหาคำตามตัวอักษรไว้อย่างมีระบบและเป็นระเบียบ หรือ การค้นหาหมายเลขโทรศัพท์ในสมุดโทรศัพท์ ซึ่งมีการเรียงลำดับ ตามชื่อและชื่อสกุลของเจ้าของโทรศัพท์ไว้ ทำให้สามารถค้นหา หมายเลขโทรศัพท์ของคนที่ต้องการได้อย่างรวดเร็ว เป็นต้น

วิธีการเรียงลำดับสามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
(1)การเรียงลำดับแบบภายใน (internal sorting)เป็นการเรียงลำดับที่ข้อมูลทั้งหมดต้องอยู่ในหน่วยความจำหลัก เวลาที่ใช้ในการเรียงลำดับจะคำนึงถึงเวลาที่ใช้ในการเปรียบเทียบและเลื่อนข้อมูลภายในความจำหลัก
(2) การเรียงลำดับแบบภายนอก(external sorting) เป็นการเรียงลำดับข้อมูลที่เก็บอยู่ในหน่วยความจำสำรอง ซึ่งเป็นการเรียงลำดับข้อมูลในแฟ้มข้อมูล (file) เวลาที่ใช้ในการเรียงลำดับต้องคำนึงถึงเวลาที่เสียไประหว่างการถ่ายเทข้อมูลจากหน่วยความจำหลักและหน่วยความจำสำรองนอกเหนือจากเวลาที่ใช้ในการเรียงลำดับข้อมูลแบบภายใน

การเรียงลำดับแบบเลือก (selection sort)ทำการเลือกข้อมูลมาเก็บในตำแหน่งที่ ข้อมูลนั้นควรจะอยู่ทีละตัว โดยทำการค้นหาข้อมูลนั้นในแต่ละรอบแบบเรียงลำดับ
*การจัดเรียงลำดับแบบเลือกเป็นวิธีที่ง่ายและตรงไปตรงมา แต่มีข้อเสียตรงที่ใช้เวลาในการจัดเรียงนานเพราะแต่ละรอบต้องเปรียบเทียบกับข้อมูลทุกตัว


การเรียงลำดับแบบฟอง (Bubble Sort)เป็นวิธีการเรียงลำดับที่มีการเปรียบเทียบข้อมูลในตำแหน่งที่อยู่ติดกัน
1. ถ้าข้อมูลทั้งสองไม่อยู่ในลำดับที่ถูกต้องให้สลับตำแหน่งที่อยู่กัน

2. ถ้าเป็นการเรียงลำดับจากน้อยไปมากให้นำข้อมูลตัวที่มีค่าน้อยกว่าอยู่ในตำแหน่งก่อนข้อมูลที่มีค่ามาก ถ้าเป็นการเรียงลำดับจากมากไปน้อยให้นำข้อมูล ตัวที่มีค่ามากกว่าอยู่ในตำแหน่งก่อนข้อมูลที่มีค่าน้อย
*การจัดเรียงลำดับแบบฟองเป็นวิธีที่ไม่ซับซ้อนมากนัก เป็นวิธีการเรียงลำดับที่นิยมใช้กันมากเพราะมีรูปแบบที่เข้าใจง่าย แต่ประสิทธิภาพการทำงานค่อนข้างต่ำพอ ๆ กับการเรียงลำดับแบบเลือกในหัวข้อที่ผ่านมา


การเรียงลำดับแบบแทรก (insertion sort)เป็นวิธีการเรียงลำดับที่ทำการเพิ่มสมาชิกใหม่เข้าไปในเซต ที่มีสมาชิกทุกตัวเรียงลำดับอยู่แล้ว และทำให้เซตใหม่ที่ได้นี้มีสมาชิกทุกตัวเรียงลำดับด้วย วิธีการเรียงลำดับจะ
1. เริ่มต้นเปรียบเทียบจากข้อมูลในตำแหน่งที่ 1 กับ 2หรือข้อมูลในตำแหน่งสุดท้ายและรองสุดท้ายก็ได้ถ้าเป็นการเรียงลำดับจากน้อยไปมาก
2. จะต้องจัดให้ข้อมูลที่มีค่าน้อยอยู่ในตำแหน่งก่อนข้อมูลที่มีค่ามาก และถ้าเรียงจากมากไปน้อยก็จะจัดให้ข้อมูลที่มีค่ามากอยู่ในตำแหน่งก่อน


การเรียงลำดับแบบฐาน (radix sort)เป็นการเรียงลำดับโดยการพิจารณาข้อมูลทีละหลัก
1. เริ่มพิจารณาจากหลักที่มีค่าน้อยที่สุดก่อน นั่นคือถ้าข้อมูลเป็นเลขจำนวนเต็มจะพิจารณาหลักหน่วยก่อน
2. การจัดเรียงจะนำข้อมูลเข้ามาทีละตัว แล้วนำไปเก็บไว้ที่ซึ่งจัดไว้สำหรับค่านั้น เป็นกลุ่ม ๆตามลำดับการเข้ามา
3. ในแต่ละรอบเมื่อจัดกลุ่มเรียบร้อยแล้ว ให้รวบรวมข้อมูลจากทุกกลุ่มเข้าด้วยกัน โดยเริ่มเรียงจากกลุ่มที่มีค่าน้อยที่สุดก่อนแล้วเรียงไปเรื่อย ๆ จนหมดทุกกลุ่ม
4. ในรอบต่อไปนำข้อมูลทั้งหมดที่ได้จัดเรียงในหลักหน่วยเรียบร้อยแล้วมาพิจารณาจัดเรียงในหลักสิบต่อไป ทำเช่นนี้ไปเรื่อย ๆ จนกระทั่งครบทุกหลักจะได้ข้อมูลที่เรียงลำดับจากน้อยไปมากตามต้องการ
*การเรียงลำดับแบบฐานมีวิธีการที่ไม่ซับซ้อนแต่ค่อนข้างใช้เนื้อที่ในหน่วยความจำมาก เนื่องจากการจัดเรียงแต่ละรอบจะต้องเตรียมเนื้อที่สำหรับสร้างที่เก็บข้อมูลในแต่ละกลุ่ม

วันจันทร์ที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2552

DTS 09-02-09-2552

Tree(ทรี) (ต่อ)

เอ็กซ์เพรสชันทรี (Expression Tree)
เป็นการนำเอาโครง สร้างทรีไปใช้เก็บนิพจน์ทางคณิตศาสตร์โดยเป็นไบนารีทรี ซึ่งแต่ละโหนดเก็บตัวดำเนินการ (Operator) และและตัวถูกดำเนินการ(Operand) ของนิพจน์คณิตศาสตร์นั้น ๆ ไว้ หรืออาจจะเก็บค่านิพจน์ทางตรรกะ (Logical Expression)นิพจน์เหล่านี้เมื่อแทนในทรีต้องคำนึงลำดับขั้นตอนในการคำนวณตาม ความสำคัญของเครื่องหมายด้วยโดยมีความสำคัญตามลำดับดังนี้

- ฟังก์ชัน
- วงเล็บ ( )
- ยกกำลัง
- เครื่องหมายหน้าเลขจำนวน
- คูณ หรือ หาร * /
- บวก หรือ ลบ + -
- ถ้ามีเครื่องหมายที่ระดับเดียวกันให้ทำจากซ้ายไปขวา
การ แทนนิพจน์ในเอ็กซ์เพรสชันทรี ตัวถูกดำเนินการจะเก็บอยู่ที่โหนดใบส่วนตัวดำเนินการจะเก็บในโหนดกิ่งหรือ โหนดที่ไม่ใช่โหนดใบเช่น นิพจน์ A + B สามารถแทนในเอ็กซ์เพรสชันทรีได้ดังนี้

ไบนารีเซิร์ชทรี
ไบนารีเซิร์ชทรี (Binary Search Tree) เป็นไบนารีทรีที่มีคุณสมบัติที่ว่าทุก ๆ โหนดในทรี ค่าของโหนดรากมีค่ามากกว่าค่าของทุกโหนดในทรีย่อยทางซ้าย และมีค่าน้อยกว่าหรือเท่ากับค่าของทุกโหนดในทรีย่อยทางขวาและในแต่ละทรีย่อย ก็มี คุณสมบัติเช่นเดียวกัน


ปฏิบัติการใน ไบนารีเซิร์ชทรี ปฏิบัติการเพิ่มโหนดเข้าหรือดึงโหนดออกจากไบนารีเซิร์ชทรีค่อนข้างยุ่ง ยากกว่าปฏิบัติการในโครงสร้างอื่น ๆเนื่องจากหลังปฏิบัติการเสร็จเรียบร้อยแล้วต้องคำนึงถึงความเป็น ไบนารีเซิร์ชทรีของทรีนั้นด้วยซึ่งมีปฏิบัติการดังต่อไปนี้


1) การเพิ่มโหนดในไบนารีเซิร์ชทรี การเพิ่มโหนดใหม่เข้าไปในไบนารีเซิร์ชทรี ถ้าทรีว่างโหนดที่เพิ่มเข้าไปก็จะเป็นโหนดรากของทรี ถ้าทรีไม่ว่างต้องทำการตรวจสอบว่าโหนดใหม่ที่เพิ่มเข้ามานั้นมีค่ามากกว่า หรือน้อยกว่าค่าที่โหนดราก ถ้ามีค่ามากกว่าหรือเท่ากันจะนำโหนดใหม่ไปเพิ่มในทรีย่อยทางขวาและถ้ามีค่า น้อยกว่านำโหนดใหม่ไปเพิ่มในทรีย่อยทางซ้ายในทรีย่อยนั้นต้องทำการเปรียบ เทียบในลักษณะเดียวกันจนกระทั่งหาตำแหน่งที่สามารถเพิ่มโหนดได้ ซึ่งโหนดใหม่ที่
2) การดึงโหนดในไบนารีเซิร์ชทรีหลังจากดึงโหนดที่ต้องการออกจากทรีแล้วทรีนั้น ต้องคงสภาพไบนารีเซิร์ชทรีเหมือนเดิมก่อนที่จะทำการดึงโหนดใด ๆ ออกจากไบนารีเซิร์ชทรี ต้องค้นหาก่อนว่าโหนดที่ต้องการดึงออกอยู่ที่ตำแหน่งไหนภายในทรีและต้องทราบ ที่อยู่ของโหนดแม่โหนดนั้นด้วยแล้วจึงทำการดึงโหนดออกจากทรีได้

ขั้นตอนวิธีดึงโหนดออกอาจแยกพิจารณาได้ 3 กรณีดังต่อไปนี้

ก. กรณีโหนดที่จะดึงออกเป็นโหนดใบการดึงโหนดใบออกในกรณีนี้ทำได้ง่ายที่สุดโดย การดึงโหนดนั้นออกได้ทันที เนื่องจากไม่กระทบกับโหนดอื่นมากนัก วิธีการก็คือให้ค่าในลิงค์ฟิลด์ของโหนดแม่ซึ่งเก็บที่อยู่ของโหนดที่ต้องการ ดึงออกให้มีค่าเป็น Null
ข. กรณีโหนดที่ดึงออกมีเฉพาะทรีย่อยทางซ้ายหรือทรีย่อยทางขวาเพียงด้านใดด้าน หนึ่ง วิธีการดึงโหนดนี้ออกสามารถใช้วิธีการเดียวกับการดึงโหนดออกจากลิงค์ลิสต์ โดยให้โหนดแม่ของโหนดที่จะดึงออกชี้ไปยังโหนดลูกของโหนดนั้นแทน
ค. กรณีโหนดที่ดึงออกมีทั้งทรีย่อยทางซ้ายและทรีย่อยทางขวาต้องเลือกโหนดมาแทน โหนดที่ถูกดึงออก โดยอาจจะเลือกมาจากทรีย่อยทางซ้ายหรือทรีย่อยทางขวาก็ได้

- ถ้าโหนดที่มาแทนที่เป็นโหนดที่เลือกจากทรีย่อยทางซ้ายต้องเลือกโหนดที่มีค่ามากที่สุดในทรีย่อยทางซ้ายนั้น
- ถ้าโหนดที่จะมาแทนที่เป็นโหนดที่เลือกมาจากทรีย่อยทางขวา ต้องเลือกโหนดที่มีค่าน้อยที่สุดในทรีย่อยทางขวานั้น



Graph

นิยามของกราฟกราฟ
เป็นโครงสร้างข้อมูลแบบไม่ใช่เชิงเส้นที่ประกอบ ด้วยกลุ่มของสิ่งสองสิ่งคือ
(1) โหนด (Nodes) หรือ เวอร์เทกซ์ (Vertexes)
(2) เส้นเชื่อมระหว่างโหนด เรียก เอ็จ (Edges)กราฟที่มีเอ็จเชื่อมระหว่างโหนดสองโหนดถ้าเอ็จไม่มีลำดับ ความสัมพันธ์จะเรียกกราฟนั้นว่ากราฟแบบไม่มีทิศทาง (Undirected Graphs) และถ้ากราฟนั้นมีเอ็จที่มีลำดับความสัมพันธ์หรือมีทิศทางกำกับด้วยเรียกกราฟ นั้นว่า กราฟแบบมีทิศทาง(Directed Graphs)บางครั้งเรียกว่า ไดกราฟ (Digraph)ถ้าต้องการอ้างถึงเอ็จแต่ละเส้นสามารถเขียนชื่อเอ็จกำกับไว้ก็ได้

การแทนกราฟในหน่วยความจำ
สิ่ง ที่ต้องการจัดเก็บก็คือ เอ็จ ซึ่งเป็นเส้นเชื่อมระหว่างโหนดสองโหนด วิธีที่ง่ายคือ การเก็บเอ็จในแถวลำดับ 2 มิติ แต่จะเป็นการเปลืองเนื้อที่เพราะบางเอ็จมีการเก็บซ้ำ แต่สามารถแก้ปัญหานี้ได้โดยมิติแรกเก็บโหนดต่างๆ แล้วใช้พอยเตอร์ชี้ไปยังความสัมพันธ์กับโหนดในมิติ 2 แต่เป็นวิธีที่ยุ่งยาก ไม่เหมาะกับกราฟที่มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา

การท่องไปในกราฟ
เป็น การไปเยือนโหนดในกราฟ ซึ่งแต่ละโหนดจะถูกเยือนเพียงครั้งเดียว แต่กราฟนั้นมาหลายเส้นทางเมื่อเยือนแล้วต้องทำเครื่องหมายว่าได้เยือนเรียบ ร้อย การท่องไปในกราฟมี 2 แบบ คือ
1.การท่องแบบกว้าง เป็นการกำหนดโหนดที่จะเยือนหรือโหนดเริ่มต้นแล้วทำการเยือนไปยังโหนดที่ใกล้เคียงจนกระทั่งครบทุกโหนด
2.การท่องแบบลึก โดยกำหนดเริ่มต้นที่โหนดแรกแล้วเยือนโหนดถัดไปตามแนววิถีจนถึงปลายวิถี แล้วย้อนกลับมาเพื่อเยือนโหนดอื่นๆ


วันเสาร์ที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2552

DTS 08-26-08-2552

ทรี (Tree)

ทรี (Tree)ป็นโครงสร้างข้อมูลที่ความสัมพันธ์ ระหว่าง โหนดจะมีความสัมพันธ์ลดหลั่นกันเป็นลำดับ ส่วนมากจะใช้สำหรับแสดง ความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูล เช่น แผนผังองค์ประกอบของหน่วยงานต่าง ๆ โครงสร้างสารบัญหนังสือ เป็นต้น แต่ละโหนดจะมีความสัมพันธ์กับ โหนดในระดับที่ต่ำลงมา หนึ่งระดับได้หลายๆโหนด เรียกโหนดดังกล่าวว่า
โหนดแม่
โหนดที่อยู่ต่ำกว่าโหนดแม่อยู่หนึ่งระดับเรียกว่า
โหนดลูก
โหนดที่อยู่ในระดับสูงสุดและไม่มีโหนดแม่เรียกว่า
โหดราก
โหนดที่มีโหนดแม่เป็นโหนดเดียวกันเรียกว่า
โหนดพี่น้อง
โหนดที่ไม่มีโหนดลูก เรียกว่า
โหนดใบ
เส้นเชื่อมแสดงความสัมพันธ์ระหว่าง โหนดสองโหนดเรียกว่า
กิ่ง

นิยามของทรี
1. นิยามทรีด้วยนิยามของกราฟ ทรี คือ กราฟที่ต่อเนื่องโดยไม่มีวงจรปิด (loop)ในโครงสร้าง โหนดสองโหนด ใดๆในทรีต้องมีทางตัดต่อกันทางเดียวเท่านั้น และทรีที่มี N โหนด ต้องมีกิ่ง ทั้งหมด N-1 เส้น
2. นิยามทรีด้วยรูปแบบรีเคอร์ซีฟทรีประกอบด้วยสมาชิกที่เรียกว่าโหนด โดยที่ ถ้าว่าง ไม่มีโหนดใด ๆ เรียกว่า นัลทรี (Null Tree)และถามโหนดหนึ่งเป็นโหดราก ส่วนที่เหลือจะแบ่งเป็น ทรีย่อย

นิยามที่เกี่ยวข้องกับ ทรี
1.ฟอร์เรสต์ (Forest) หมายถึง กลุ่มของทรีที่เกิดจากการเอาโหนดรากของทรีออกหรือเซตของทรีทแยกจากกัน
2.ทรีที่มีแบบแผน (Ordered Tree) หมายถึง ทรีที่โหนดต่าง ๆ ในทรีนั้นมี ความสัมพันธ์ที่แน่นอน เช่น ไปทางขวาไปทางซ้าย เป็นต้น
3.ทรีคล้าย (Similar Tree) คือทรีที่มีโครงสร้างเหมือนกันหรือทรีที่มีรูปร่างของทรีเหมือนกันโดยไม่คำนึงถึงข้อมูลที่อยู่ในแต่ละโหนด
4.ทรีเหมือน (Equivalent Tree) คือ ทรีที่เหมือนกันโดยสมบูรณ์โดยต้องเป็นทรีที่คล้ายกันและแต่ละโหนดในตำแหน่ง เดียวกันมีข้อมูลเหมือนกัน
5.กำลัง (Degree) หมายถึงจำนวนทรีย่อยของโหนด นั้น ๆ เช่น
6.ระดับของโหนด (Level of Node) คือ ระยะทางในแนวดิ่งของโหนดนั้น ๆ ที่อยู่ห่างจากโหนดราก เมื่อกำหนดให้ โหนดรากของทรีนั้นอยู่ระดับ 1 และกิ่งแต่ละกิ่งมีความเท่ากันหมด คือ ยาวเท่ากับ 1หน่วยซึ่งระดับของโหนดจะเท่ากับจำนวนกิ่งที่น้อยที่สุดจากโหนดรากไปยังโหน ดใด ๆ บวกด้วย 1และจำนวนเส้นทางตามแนวดิ่งของโหนดใด ๆ ซึ่งห่างจากโหนดราก เรียกวา ความสูง หรือความ ลึก


การแทนที่ทรีในหน่วยความจำหลัก
การแทนที่โครงสร้างข้อมูลแบบทรีในความจำหลักจะมีพอยเตอร์เชื่อมโยงจากโหนดแม่ไป ยังโหนดลูก แต่ละโหนดต้องมีลิงค์ฟิลด์เพื่อเก็บที่อยู่ของโหนดลูกต่าง ๆ นั้นคือจำนวน ลิงคฟิลด์ของแต่ละโหนดขึ้นอยู่กับจำนวนของโหนดลูกการแทนที่ทรี ซึ่งแต่ละโหนดมีจำนวนลิงค์ฟิลด์ไม่เท่ากันทำให้ยากต่อการปฏิบัติการ วิธีการแทนที่ที่ง่ายที่สุดคือ ทำให้แต่ละโหนดมีจำนวนลิงคฟิลด์เท่ากันโดยอาจใช่วิธีการต่อไปนี้

1. โหนดแต่ละโหนดเก็บพอยเตอร์ชี้ไปยังโหนดลูก ทุกโหนด การแทนที่ทรีด้วยวิธีนี้จะให้จำนวนฟิลด์ในแต่ละ โหนดเท่ากันโดยกำหนดใหม่ขนาดเท่ากับจำนวนโหนดลูกของโหนดที่มีลูกมากที่สุด โหนดใดไม่มีโหลดลูกก็ให้ค่า พอยเตอร์ในลิงค์ฟิลด์นั้นมีค่าเป็น Null และให้ลิงค์ฟิลด์แรกเก็บค่าพอยเตอร์ชี้ไปยังโหนด ลูกลำดับ ที่หนึ่ง ลิงค์ฟิลด์ที่สองเก็บค่าพอยเตอร์ชี้ไปยังโหนดลูก ลำดับที่สองและลิงค์ฟิลด์อื่นเก็บค่าพอยเตอร์ของโหนดลูก ลำดับถัดไปเรื่อย ๆ

2.แทนทรีด้วยไบนารีทรี เป็นวิธีแก้ปัญหาเพื่อลดการ สิ้นเปลืองเนื้อที่ในหน่วยความจำก็คือ กำหนดลิงค์ฟิลด์ใหม่จำนวนน้อยที่สุดเท่าที่จำเป็นเท่านั้นโดยกำหนดให้แต่ละ โหนดมีจำนวนลิงค์ฟิลด์สองลิงค์ฟิลด์-ลิงค์ฟิลด์แรกเก็บที่อยู่ของโหนดลูกคน โต-ลิงค์ฟิลด์ทสองเก็บที่อยู่ของโหนดพี่น้องที่เป็นโหนดถัดไปโหนดใดไม่มีโหน ดลูกหรือไม่มีโหนดพี่น้องให้ค่าพอยนเตอร์ใน ลิงค์ฟิลด์มีค่าเป็น Null

ไบนารีทรีที่ทุก ๆ โหนดมีทรีย่อยทางซ้ายและทรีย่อยทางขวา ยกเว้นโหนดใบ และโหนดใบทุกโหนดจะต้องอยู่ที่ระดับเดียวกันเรียกว่า ไบนารีทรีแบบสมบูรณ์

การแปลงทรีทั่วไปให้เป็นไบนารีทรี
ขั้นตอนการแปลงทรีทั่วๆ ไปให้เป็นไบนารีทรี มีลำดับขั้นตอนการแปลง ดั้งต่อไปนี้
1. ให้โหนดแม่ชี้ไปยังโหนดลูกคนโต แล้วลบความสัมพันธ์ ระหว่างโหนดแม่และโหนดลูกอื่น ๆ
2. ให้เชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างโหนดพี่น้อง
3. จบให้ทรีย่อยทางขวาเอียงลงมา 45 องศา

การท่องไปในไบนารีทรี
ปฏิบัติ การที่สำคัญในไบนารีทรี คือ การท่องไปในไบนารีทรี (Traversing Binary Tree) เพื่อเข้าไปเยือนทุก ๆโหนดในทรี ซึ่งวิธีการท่องเข้าไปต้องเป็นไปอย่างมีระบบแบบแผน สามารถเยือนโหนดทุก ๆโหนด ๆ ละหนึ่งครั้งวิธีการท่องไปนั้นมีด้วยกันหลายแบบแล้วแต่ว่าต้องการลำดับขั้น ตอนการเยือนอย่างไร โหนดที่ถูกเยือนอาจเป็นโหนดแม่ (แทนด้วย N)
ทรีย่อยทางซ้าย (แทนด้วย L)
ทรีย่อยทางขวา (แทนด้วย R)

วิธีการท่องไปในทรีมี 6 วิธี แต่นิยมใช้กันมากคือ NLR , LNR , LRN
1. วิธี NLR ในลักษณะการเข้าถึงจะเริ่มต้นจากจุดแรกคือ N จากนั้นจึงเข้าไปทรีย่อยด้านซ้ายและเข้าถึงทรีย่อยด้านขวา

2. วิธี LNR สำหรับการเข้าถึงแบบอินออร์เดอร์จะดำเนินการเข้าเยี่ยมทรีย่อยด้านซ้ายก่อน จากนั้นจึงเข้าเยี่ยม N และสิ้นสุดการเข้าเยี่ยมที่ทรีย่อยด้านขวา

3. วิธี LRN การประมวลผลของโพสออร์เดอร์ จะเริ่มต้นด้วยทรีย่อยด้านซ้ายจานั้นมาประมวลผลต่อที่ทรีย่อยด้านขวาและสิ้น สุดการประมวลผลที่ N

วันเสาร์ที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2552

DTS 07-05-08-2552

Queue

Queue จะมีการทำงานเป็นแบบ “First-In-First-out” (FIFO)
สำหรับเรื่องของ Queue จะมีงานหลัก ๆ ที่ต้องทำงานอยู่ด้วยกัน 2 อันก็คือ
1.ใส่ข้อมูลลงไปใน Queue เราเรียกว่า
“Enqueue”
2.เอาข้อมูลออกจาก Queue เพื่อนำไปใช้ เราเรียกว่า “Dequeue”


ใช้ตัวชี้ 2 ตัวคือ front กับ rear ดังนั้นถ้า Enqueue คือเอาเข้า ก็ต้องเอามาต่อ rear คือข้างหลังถ้า Dequeue คือเอาออก ก็ต้องเอาตรง front ออกไป เพราะมันเข้ามาก่อน

การแทนที่ข้อมูลของคิวการแทนที่ข้อมูลของคิวสามารถทาได 2 วิธี คือ
1. การแทนที่ข้อมูลของคิวแบบลิงค์ลิสค์
2. การแทนที่ข้อมูลของคิวแบบอะเรย์

การแทนที่ข้อมูลของสแตกแบบลิงค์ลิสต จะประกอบไปด้วย 2 ส่วน คือ
1. Head Node จะประกอบไปด้วย 3 ส่วนคือ พอยเตอร์จำนวน 2 ตัว คือ Front และ rear กับจำนวนสมาชิกในคิว
2. Data Node จะประกอบไปด้วย ข้อมูล (Data) และพอยเตอร์ที่ชี้ไปยังข้อมูลตัวถัดไป

การดำเนินการเกี่ยวกับคิว
1.Create Queue คือการสร้างคิวขึ้นมา แล้วจัดสรรหน่วยความจำให้กับ Head Node และพอยเตอร์มีค่าเป็น Null
2.Enqueue คือ การเพิ่มข้อมูลลงไปในคิวโดยการเพิ่มจะเพิ่มจากส่วนท้าย
3.Dequeue คือ การนำข้อมูลในคิวออก จะออกโดยข้อมูลที่เข้าไปตัวแรกจะออกก่อน
4.Queue Front คือ การนำข้อมูลตัวแรกที่เข้าไปในคิวออกมาแสดง
5.Queue Rear คือ การนำข้อมูลตัวสุดท้ายที่เข้ามาในคิวออกมาแสดง
6.Empty Queue คือ เป็นการตรวจสอบว่าคิวนั้นยังคงว่างอยู่หรือไม่
7.Full Queue คือ เป็นการตรวจสอบว่าคิวนั้นเต็มหรือไม่
8.Queue Count คือ เป็นการนับจำนวนข้อมูลที่อยูในคิว ว่ามีจำนวนเท่าไร
9.Destroy Queue คือ การลบข้อมูลที่อยูในคิวทิ้ง

การแทนที่ข้อมูลของคิวแบบอะเรย์
การนำข้อมูลเข้าสู่คิว จะไม่สามารถนำเข้าในขณะที่คิวเต็ม หรือไม่มีที่ว่าง ถ้าพยายาม นำเข้าจะทำให้เกิดความผิดพลาดที่เรียกว่า overflow การนำข้อมูลออกจากคิว จะไม่สามารถนำอะไรออกจากคิวที่ว่างเปล่าได้ถ้าพยายามจะทำให้เกิดความผิดพลาดที่เรียกว่า underflow ในการใส่สมาชิกลงในคิวจะต้องตรวจสอบ ก่อนว่าคิวเต็ม หรือไม่

วันศุกร์ที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

DTS 06-29-07-2552

การแทนที่ข้อมูลของสแตกแบบอะเรย์

การแทนที่ข้อมูลของสแตกแบบลิงค์ลิสตจะประกอบไปด้วย 2 ส่วน คือ
1. Head Node จะประกอบไปด้วย 2ส่วนคือ top pointer และจำนวนสมาชิกในสแตก
2. Data Node จะประกอบไปด้วยข้อมูล (Data)และพอยเตอร์ ที่ชี้ไปยังข้อมูล


การดำเนินการเกี่ยวกับสแตกการดำเนินการเกี่ยวกับสแตก ได้แก่

1. Create Stack จัดสรรหน่วยความจำให้แก่ Head Nodeและส่งค่าตำแหน่งที่ชี้ไปยัง Head ของสแตกกลับมา
2.Push Stack การเพิ่มข้อมูลลงไปในสแตก
3.Pop stack การนำข้อมูลบนสุดออกจากสแตก
4. Stack Top เป็นการคัดลอกข้อมูลที่อยู่บนสุดของสแตกโดยไม่มีการลบข้อมูลออกจากสแตก
5.Empty Stack เป็นการตรวจสอบการวางของสแตกเพื่อไม่ให้เกิดความผิดพลาดในการนำข้อมูลออกจากสแตกที่เรียกว่า Stack Underflow
6. Full Stack เป็นการตรวจสอบว่าสแตกเต็มหรือไม่เพื่อไม่ให้เกิดความผิดพลาดในการนำข้อมูลเข้าสแตกที่เรียกว่า Stack Overflow
7. Stack Count เป็นการนับจำนวนสมาชิกในสแตก
8.Destroy Stack เป็นการลบข้อมูลทั้งหมดที่อยู่ใน สแตก


การคำนวณนิพจน์ทางคณิตศาสตร์

นิพจน์ทางคณิตศาสตร์เพื่อการคำนวณจะต้องคำนึงถึงลำดับความสำคัญของเครื่อง หมายสำหรับการคำนวณด้วยโดยทั่วไปนิพจน์ทางคณิตศาสตร์สามารถเขียนได้ 3 รูปแบบ คือ
1. นิพจน์ Infix นิพจน์รูปแบบนี้ operatorจะอยู่ตรงกลางระหว่างตัวถูกดำเนินการ 2 ตัว
2. นิพจน์ Postfix นิพจน์รูปแบบนี้ จะต้องเขียนตัวถูกดำเนินการตัวที่ 1 และ 2 ก่อน แล้วตามด้วย operator
3. นิพจน์ Prefix นิพจน์รูปแบบนี้ จะต้องเขียน operatorก่อนแล้วตามด้วยตัวถูกดำเนินการตัวที่ 1 และ 2



การแปลงนิพจน์ Infix เป็นนิพจน์ Postfix นิพจน์ A-B/C+D*Eตัวที่อ่านเข้ามา ผลลัพธ์ในสแตก นิพจน์ Postfix
A ว่าง A
- - A
B - AB
/ -/ AB

C -/ ABC
+ + ABC/-
D + ABC/-D
* +* ABC/-D
E +* ABC/-DE
ABC /- DE*+

นิพจน์ A*(B+C-D)/E

วันอังคารที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

การบ้าน iostream.h และ stdio.h

<เขียนโปรแกรมโดยใช้ stdio.h >

#include
main()
{
int price,amount,pay;
printf("Enter Amount :");
scanf("%d",&amount);
while(amount!=0)
{
printf("Enter Price : ");
scanf("%d",&price);
pay=price*amount;
printf("You must pay %d baht\n",pay);
printf("* * * * * * * * * * * * * * *\n");
printf("Enter Amount : ");
scanf("%d",&amount);
}
printf("* * * * * * * * * * * * * * *\n");
printf("Thank you");
}



<เขียนโปรแกรมโดยใช้ iostream.h >

#include
main()
{
int price,amount,pay;
cout<<"Enter Amount :"; cin>>amount;
while(amount!=0)
{
cout<<"Enter Price : "; cin>>price;
pay=price*amount;
cout<<"You must pay "<<<" baht\n"; cout<<"* * * * * * * * * * * * * * *\n"; cout<<"Enter Amount : "; cin>>amount;
}
cout<<"* * * * * * * * * * * * * * *\n"; cout<<"Thank you"; }

วันอาทิตย์ที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

DTS 05-22-07-2552

Linked List (ต่อ)

Search list จะทำหน้าที่ค้นหาข้อมูลในลิสต์ตามที่ต้องการ
Traverse การท่องเข้าไปในลิสต์ คือ การท่องไปในทุกโหนดของลิงค์ลิสต์ เข้าถึงโครงสร้างทีละโครงสร้างที่อยู่ในลิสต์นั้น

** สมมติว่ามีลิงค์ลิสต์ H อยู่แล้ว ถ้าจะหาว่า X อยู่ในลิสต์นี้หรือไม่ เราจะสามารถรู้ได้โดยการค้นหาแบบลำดับ (sequential search) ตามลำดับ

Retrieve Node คือ การหาตำแหน่งข้อมูลในลิสต์ ว่าข้อมูลที่ต้องการนั้นอยู่ตำแหน่งที่เท่าไหร่ในลิสต์นั้น
EmptyList คือ ลิงค์ลิสต์ที่ไม่มี node อยุ่ภายใน หรือเป็นการทดสอบว่าลิสต์ว่างหรือไม่
list count คือ การนับจำนวนข้อมูลที่มีอยู่ในลิสต์ทั้งหมด ซึ่งสามารถดูค่าของจำนวนข้อมูลได้จาก Count
destroy list คือ การทำลายลิสต์ทิ้ง

Linked List แบบซับซ้อน

1.Circular Linked Listหมายถึง ลิงค์ลิสต์ที่โหนดสุดท้ายสามารถวกกลับมาที่โหนดแรกได้
ใช้ ประโยชน์เมื่อต้องการให้ข้อมูลมีลักษณะเป็นวนรอบหรือลูป โดยแต่ละขั้นตอนการทำงานภายในลูป จะมีการย้ายตำแหน่งของพอยน์เตอร์ไปยังโหนดถัดไป

2.Double Linked List หมายถึง ลิงค์ลิสต์ที่ทุกโหนดสามารถวกกลับมาที่โหนดก่อนหน้าของตนเองได้ ประกอบด้วยส่วนของ Info และ พอยน์เตอร์ที่ชี้ไป 2 ทิศทาง คือ ชี้ไปยังโหนดถัดไป และชี้ไปยังโหนดก่อนหน้า ดังนั้นเราจึงสามารถทำการอ่านข้อมูลได้ 2 วิธี คือ การอ่านไปข้างหน้า และอ่านไปทางข้างหลัง


สแตก(Stack)

สแตก(Stack) เป็นโครงสร้างข้อมูลที่ข้อมูลแบบลิเนียร์ลิสต์ ที่มีคุณสมบัติที่ว่าการเพิ่มหรือลบข้อมูลในสแตก จะกระทำที่ปลายข้างเดียวกัน ซึ่งเรียกว่า Top ขอสแตก (Top of stack) และลักษณะที่สำคัญของสแตกคือข้อมูลที่ใส่หลังสุดจะถูกนำออกมา จากสแตกเป็นอันดับแรกสุด เรียกคุณสมบัตินี้ว่า LIFO (Last in First out)

การทำงานของสแตกจะประกอบด้วยกระบวนการ 3 กระบวนการที่สำคัญ คือ
1.Push คือ การนำข้อมูลใส่ลงไปในสแตก โดยการเพิ่มข้อมูลลงในสแตก จะต้องทำการตรวจสอบว่า
สแตก เต็มหรือไม่ ถ้าไม่เต็มก็สามารถเพิ่มข้อมูลลงไปในสแตกได้ แล้วปรับตัวชี้ตำแหน่งให้ไปชี้ที่
ตำแหน่งข้อมูลใหม่ ถ้าสแตกเต็ม (Stack Overflow) ก็จะไม่สามารถเพิ่มข้อมูลเข้าไปในสแตกได้อีก

2. Pop คือ การนำข้อมูลออกจากส่วนบนสุดของสแตก โดยการนำข้อมูลออกจากสแตก ถ้าสแตก
มีสมาชิก เพียง 1ตัว แล้วนำสมาชิกออกจากสแตก จะเกิดสภาวะสแตกว่าง (Stack Empty)
คือ ไม่มีสมาชิก อยู่ในสแตกเลย แต่ถ้าไม่มีสมาชิกในสแตก แล้วทำการ pop สแตก จะทำให้ เกิด
ความผิดพลาดที่เรียกว่า Stack Underflowเพราะฉะนั้นก่อนนำข้อมูลออกจากสแตกจะต้อง
ตรวจสอบ ก่อนว่าสแตกว่างหรือเปล่า จึงจะนำข้อมูลออกจากสแตกได้และ ปรับตัวชี้ตำแหน่งให้ไปชี้
ตำแหน่งของข้อมูลที่ต่อจากข้อมูลที่ถูกนำ ออกไป

3. Stack Top เป็นการคัดลอกข้อมูลที่อยู่บนสุดของสแตก แต่ไม่ได้นำเอาข้อมูลนั้นออกจากสแตก


**ตัวอย่างของสแตก = สก๊อกเทป ก็คือ การม้วนของเทป เวลาม้วนเข้าไปก่อน แต่เวลาใช้ จะใช้ตรงปลายที่ถูกม้วนเข้าไปทีหลังสุดก่อน

วันพุธที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

DTS 04-15-07-2552


ลิงค์ลิสต์ (Linked List)

ลิงค์ลิสต (Linked List) เป็นวิธีการเก็บ ข้อมูลอย่างต่อเนื่องของอิลิเม้นต์ต่าง ๆ โดยมีพอยเตอร์เป็นตัวเชื่อมต่อแต่ละอิลิเม้นท์ เรียกว่าโนด (Nodeซึ่งในแต่ละโนดจะประกอบไปด้วย 2 ส่วน คือ Dataจะเก็บข้อมูลของอิลิเม้นท์ และส่วนที่สอง คือ Link Field จะทำหน้าที่เก็บ ตำแหน่งของโนดต่อไปในลิสต

โครงสร้างข้อมูลแบบลิงค์ลิสตโครงสร้างข้อมูลแบบลิงค์ลิสตจะแบ่งเป็น 2 ส่วน คือ
1. Head Structure จะประกอบไปด้วย 3 ส่วน ได้แก่
1.1 จำนวนโหนดในลิสต (Count)
1.2 พอยเตอร์ที่ชี้ไปยัง โหนดที่เข้าถึง(Pos)
1.3 พอยเตอร์ที่ชี้ไปยังโหนดข้อูมลแรกของลิสต (Head)
2. Data Node Structure จะประกอบไปด้วยข้อมูล (Data) และพอยเตอร์ที่ชี้ไปยังข้อมูลตัวถัดไป

กระบวนงานและฟังกชั่นที่ใช้ดำเนินงานพื้นฐาน
1. กระบวนงาน Create List หน้าที่ สร้างลิสตว่าง ผลลัพธ์ ลิสตว่าง
2.กระบวนงาน Insert Nodeหน้าที่เพิ่มข้อมูลลงไปในลิสตบริเวณตำแหน่งที่ต้องการข้อมูลนำเข้าลิสต ข้อมูล และตำแหน่งผลลัพธ์ ลิสตที่มีการเปลี่ยนแปลง
3. กระบวนงาน Delete Node หน้าที่ลบสมาชิกในลิสตบริเวณตำแหน่งที่ต้องการข้อมูลนำเข้าข้อมูลและตำแหน่งผลลัพธ์ ลิสตที่มีการเปลี่ยนแปลง

วันอังคารที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

DTS 03-1-07-2552

pointer

พอยน์เตอร์ (pointer) เป็นตัว แปรที่ใช้เก็บตำแหน่ง (แทนที่จะเก็บค่า) ของข้อมูล เช่น ตัวแปรหรือสมาชิกของอาร์เรย์เราใช้พอยเตอร์บ่อย ๆ ใน ภาษาซี เนื่องจากมันมีประโยชน์มากมาย เช่น เราสามารถใช้พอยน์เตอร์ในการ ส่งข้อมูลไปมาระหว่างฟังก์ชันกับจุดที่เรียกใช้ฟังก์ชัน ถ้ากล่าวให้เจาะจง ลงไปก็คือ พอยน์เตอร์ ทำให้ฟังก์ชันสามารถส่งค่ากลับคืนมาได้ หลายค่า โดยผ่านอาร์กิวเมนต์ของฟังก์ชันยิ่งไปกว่านั้น เรายังใช้พอยน์เตอร์ในการเรียกใช้ฟังก์ชันที่ถูกส่งมาเป็นอาร์กิวเมนต์ของ อีก ฟังก์ชันหนึ่งนั่น คือ เราสามารถส่งฟังก์ชันหนึ่ง เป็นอาร์กิวเมนต์ให้อีก ฟังก์ชันหนึ่งได้


การกำหนดตัวแปร Pointer
การกำหนดตัวแปร Pointer จะคล้ายกับการกำหนดตัวแปรชนิดต่างๆ เพียงแต่ต้องมีเครื่องหมาย * หน้าชื่อตัวแปร ตัวอย่างเช่น int *pt;ในที่นี้กำหนดให้ pt เป็นตัวแปร Pointer ซึ่งเก็บAddress
ของตัวแปรชนิดตัวเลขจำนวนเต็มในเรื่อง Pointer มีเครื่องหมาย 2 ชนิด คือ * และ & เครื่องหมาย * จะให้ค่า ของข้อมูล ซึ่งเก็บอยู่ใน Address โดย Address นี้เก็บ อยู่ในตัวแปร Pointer ซึ่งอยู่หลังเครื่องหมาย * สำหรับเครื่องหมาย & จะให้ค่า Address ของตัวแปรซึ่งอยูหลังเครื่องหมาย &


พอยน์เตอร์และอาร์เรย์
พอยเตอร์สามารถกำหนดให้เป็นอารฺเรย์ได้ โดยในอาร์เรย์จะมีตัวแปร พอยเตอร์เหมือนตัวแปรอาเรย์ทั่วไป อาเรย์พอยเตอร์จะเก็บแอดเดรสของตัวแปรตามชนิดข้อมูลของตัวแปร ในการกำหนดอาเรย์ของ พอยเตอร์มีรูปแบบดังนี้

data type *pointer name[size];


พอยน์เตอร์ของพอยเตอร์
ตัวแปรพอยน์เตอร์อาจใช้เก็บค่าแอดเดรสของตัว แปรพอยเตอร์อื่น ซึ่งเก็บค่าแอดเดรสของตัวแปรหรือพอยเตอร์ตัวที่ 1 ชี้ไป แอดเดรสของพอยเตอร์ตัวที่ 2 ซึ่งพอยเตอร์ตัวที่ 2 ชี้ไปแอดเดรสตัวแปรดังรูป


พอยเตอร์ >>> พอยเตอร์ >>> ตัวแปร

ในการกำหนดพอยเตอร์ของพอยน์เตอร์จะต้องเพิ่มเครื่อหมาย * อีก 1 ตัวหน้าพอยเตอร์เช่น int **pt;




Set

เป็นโครงสร้างที่ข้อมูลแต่ละตัวไม่มีความสัมพันธ์กันเลย ตัวดำเนินการของเซ็ต ประกอบด้วย

1.set intersection
2.set union
3.set difference

String

เป็นข้อมูลที่ประกอบด้วย ตัวอักษร ตัวเลข หรือเครื่องหมายที่เรียงติดต่อกันความยาวของสตริงจะถูกกำหนดโดยขนาดของสตริง ในการจองเนื้อที่นั้น ต้องทำการจองเนื้อที่ให้กับ \0 ด้วย



วันจันทร์ที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2552

DTS02-24/06/52


Array and Record

อาร์เรย์ คือตารางที่เป็นช่อง ๆ แต่ละช่องต้องเก็บข้อมูลแบบเดียวกัน เป็นตัวอักษรล้วนหรือเป็นตัวเลขล้วน ขนาดของแต่ละช่องต้องเท่ากันหมด โดยสรุปเรานิยามได้ว่าอาร์เรย์คือกลุ่มของค่า ชนิดเดียวกัน ที่เรียงกันตามลำดับอย่างมีแบบแผน เราสามารถใช้ค่า (Access) ต่าง ๆ ในอาร์เรย์โดยอาศัยตัวห้อยหรือsubscript จำนวน subscript ที่ต้องใช้ในการใช้ค่าในอาร์เรย์เรียกว่า มิติ หรือ ไดเมนชั่น (dimension) ของอาร์เรย์นั้น

การจัดเก็บอาร์เรย์ในความจำหลักนั้น จะพิจารณาตามประเภทของอาร์เรย์ในมิติต่างๆ

อาร์เรย์ 1 มิติ
หมายถึง โครงสร้างข้อมูลแถวอันดับที่มีการจัดเก็บข้อมูลต่อเนื่องกันไปเป็นแถวต่อเนื่องกันตลอด ซึ่งเปรียบเหมือนกับตารางแถวเดียว


สูตรสำหรับหาจำนวนช่องในอาร์เรย์
A(l : u)=u - l + 1
สูตรสำหรับหาตำแหน่งของอาร์เรย์
[A(i)]= แอดเดรส [A(l)] + C(i - l)


อาร์เรย์ 2 มิติ
หมายถึง โครงสร้างข้อมูลที่มีการจัดเก็บข้อมูลแบบตารางสองทาง ข้อมูลมีการจัดเรียงกันตามแนวแถว (Row) และ แนวหลัก (Column)การอ้างถึงข้อมูลต้องระบุตำแหน่งแถวและตำแหน่งหลักที่ข้อมูลนั้น อยู่




ข้อมูลชนิดโครงสร้าง (Structure)
ความหมาย และการสร้างข้อมูลชนิดโครงสร้างข้อมูล ชนิดโครงสร้าง เป็นการรวมกลุ่มของตัวแปรต่าง ๆ เข้าด้วยกันไว้ภายใต้ชื่อเพียงชื่อเดียว เช่น ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับพนักงานของบริษัทแห่งหนึ่งประกอบด้วย ชื่อ ที่อยู่ เงินเดือน อายุ ถ้าต้องการนำข้อมูลเหล่านี้ไปเก็บไว้ในหน่วยความจำก็ต้องเตรียมตัวแปรให้กับ ข้อมูลพร้อมทั้งบอกชนิดของข้อมูลด้วย

รูปแบบ

struct-name ชื่อกลุ่มโครงสร้าง
type ชนิดตัวแปรที่อยู่ในกลุ่มโครงสร้าง
name-1, name-2, name-n ชื่อของตัวแปรที่อยู่ในกลุ่มโครงสร้าง
struct-variable ตัวแปรชนิดโครงสร้าง หมายถึง ตัวแปรที่มีโครงสร้างเหมือนกับ
ที่ประกาศไว้ในชื่อของกลุ่มโครงสร้างซึ่งอาจจะมีหรือไม่มีก็ได้
และถ้ามีมากกว่า 1 ชื่อ จะแยกกันด้วยเครื่องหมายคอมม่า (,)

การกำหนดให้ตัวแปรมีโครงสร้างข้อมูลเหมือนกับชื่อกลุ่มโครงสร้างที่ประกาศไว้แล้ว
struct struct-name struct-variable;

การอ้างถึงตัวแปรที่อยู่ในตัวแปรชนิดโครงสร้าง
struct-Variable.element-name
struct-name ชื่อกลุ่มโครงสร้างที่ประกาศลักษณะไว้แล้ว
struct-variable ชื่อตัวแปรชนิดโครงสร้าง
ถ้ามีมากกว่าหนึ่งตัวจะแยกกันด้วยเครื่องหมายคอมม่า(,)



-----------------------------------------------------------------------------------------------


#include
struct date{
int day;
int month;
int year;
};
struct hotel{
char name[20];
char last_name[20];
int length_of_period;
int how_many_room;
int room_number;
float price;
struct date date1;
}hotel1;
void input_data()
{
printf("hotel data\n");
printf("day :");
scanf("%d",&hotel1.date1.day);
printf("month :");
scanf("%d",&hotel1.date1.month);
printf("year :");
scanf("%d",&hotel1.date1.year);

printf("Name :");
scanf("%s",&hotel1.name);
printf("Last name :");
scanf("%s",&hotel1.last_name);
printf("Length of period :");
scanf("%d",&hotel1.length_of_period);
printf("How_many_room :");
scanf("%d",&hotel1.how_many_room);
printf("Room Number :");
scanf("%d",&hotel1.room_number);
printf("Price :");
scanf("%f",&hotel1.price);
}
void show_data()
{
printf("Display Data of Hotel\n");
printf("Day : %d-%d-%d\n",hotel1.date1.day,hotel1.date1.month,hotel1.date1.year);
printf("name : %s Last Name : %s\n",hotel1.name,hotel1.last_name);
printf("Length of period : %d\n",hotel1.length_of_period);
printf("How many room : %d\n",hotel1.how_many_room);
printf("Room Number : %d\n",hotel1.room_number);
printf("Price : %f\n",hotel1.price);
}
main()
{
input_data();
show_data();
}


-----------------------------------------------------------------------------------------------

วันพฤหัสบดีที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2552

ประวัติส่วนตัว



ชื่อ : นางสาวสุรีย์พร พิทักษ์สัญญา
ชื่อเล่น : จูน
รหัส : 50152792009
วันเดือนปีเกิด : 13-06-2532
สถานภาพ
: โสด
ศาสนา
: พุทธ
ภูมิลำเนา
: กรุงเทพมหานคร
หลักสูตร : การบริหารธุรกิจ (คอมพิวเตอร์ธุรกิจ) คณะวิทยาการจัดการ
มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต
e-mail : u50152792009@gmail.com